องค์ความรู้ด้านการค้าชายแดน

การจัดการองค์ความรู้ด้านการค้าชายแดน

——————

องค์ความรู้ ด้านกฎระเบียบ

1. การนำเข้าสินค้าเกษตรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก

การนำเข้าสินค้าเกษตรใต้กรอบ ACMECS   ตามโครงการ Contract  Farming  ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก  ไม่สามารถนำเข้าผลผลิตได้ตามเป้าหมาย  ถึงแม้ว่ามาตรการช่วยเหลือทางภาครัฐจะยกเว้นภาษีการนำเข้าตามโครงการ   แต่ทางปฎิบัติในการขนสินค้าเข้ามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  ซึ่งต่างมีกฎระเบียบการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรที่ต้องรักษาปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และมีข้อจำกัดความ  ในแนวปฎิบัติมาก  ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่มีความชำนาญด้านการทำพิธีการต่างๆ  ไม่สามารถนำสินค้าเข้าได้ตามเป้าหมาย

การนำเข้าภายใต้ AISP   การที่กระทรวงการคลัง  กำหนดให้ผู้ที่จะใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรตามเงื่อนไข  ในฐานะสมาชิกอาเซียนใหม่ ( AISP )  ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ( Form  AISP )  จากสหภาพพม่ามาแสดงในขณะผ่านพิธีการทางศุลกากร  ซึ่งในทางปฎิบัติ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ค้าขายกับชนกลุ่มน้อยเป็นหลัก  ทำให้ไม่สามารถหาใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าดังกล่าวมาแสดงได้  จึงต้องเสียภาษี  หรือลักลอบนำเข้า

การนำเข้าตามการเปิดตลาดตามข้อผูกพันของ WTO   สำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เฉพาะนอกโควต้า  ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะต้องขออนุญาตในการนำเข้า  จึงจะต้องขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น กรมการค้าต่างประเทศ  ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ

ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านกฎระเบียบ การนำเข้าตามกรณีต่างๆ  มีการแก้ไข หรือเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานในส่วนที่ภูมิภาคไม่สามารถดำเนินการได้

– กรณี Contract  Farming  มีการผ่อนปรนกฎระเบียบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ให้ผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ  สามารถนำพืชเป้าหมายได้มากกว่าการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา

– กรณี   AISP   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านชายแดน  ได้รับทราบปัญหาและมีการหารือในระดับทางการ  และไม่เป็นทางการ  ให้สามารถออกใบรับรองแหล่งกำเนิดได้สะดวกมากขึ้น

ทั้งนี้   การนำเข้าทั้ง 2 กรณี  ผู้ประกอบการสามารถรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการนำเข้าร้อยละ 0   ซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อการผลิตภายในประเทศ   ที่ยังคงมีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตภายใน    ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านให้มีงานทำ  ลดการลักลอบการเข้ามาใช้แรงงานภายในประเทศไทย    ทำให้เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในแถบชายแดนให้มีอำนาจในการซื้อมายิ่งขึ้น

– กรณี  WTO ( นอกโควตา ) ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์   โดยกรมการค้าต่างประเทศ  ซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่มีสิทธิอนุญาตในการนำเข้า    ได้มอบอำนาจในการอนุญาตให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการมอบหมายในจังหวัดนั้น   ซึ่งเป็นความสร้างความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปขอหนังสือรับรองที่ สำนักงานการค้าต่างประเทศในจังหวัดเชียงใหม่

2. การนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดนจังหวัดตาก

ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 92) พ.ศ 2535   ลงวันที่  30 พ.ย 2535      ให้ไม้และไม้แปรรูปทุกชนิดรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์  เครื่องใช้   หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้    ซึ่งนำเข้าทางด่านศุลกากรที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด   ต้องมีใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออกแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการทำพิธีการนำเข้า         ประกาศดังกล่าว   ทำให้ผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ในจังหวัดได้รับความเดือดร้อน  ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาส่งเสริมการค้าชายแดน   จึงมีการผลักดันจากกลุ่มผู้ประกอบการในการนำเข้า  และหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เสนอแนะปัญหาที่เกิดขึ้น   ครม.มีมติผ่อนผันการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก   ทำให้เกิดประกาศกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่  29  พฤศจิกายน  2548  ขึ้น   โดยมอบหมายให้จังหวัดบริหารการนำเข้าตามจุดที่อนุญาต   และกำหนดคุณสมบัติของสิ่งประดิษฐ์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์จากการดำเนินงานนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก   ในฐานะสำนักงานพาณิชย์เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารการนำเข้า ฯ  มีการหารือในระเบียบข้อปฎิบัติจากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เช่น  ด่านศุลกากรแม่สอด  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  อำเภอท้องที่  ผู้ประกอบการนำเข้าไม้  เจ้าของคลังสินค้า   ฝ่ายทหารและ  ตำรวจ    มีการกำหนดระเบียบเฉพาะที่ชัดเจนเป็นไปแนวทางเดียวกัน  จึงทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ได้มากยิ่งขึ้น     เป็นการสร้างมูลค่าการค้าชายแดนที่สูงขึ้นเพื่อรองรับตัวชี้วัดด้านมูลค่าการค้าชายของจังหวัดตาก    และเป็นการ สร้างรายได้ให้ดับจังหวัดตาก    ผู้ประกอบการนำของเข้าระบบตามกฎหมายมากขึ้น   ภาครัฐสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น  ตลอดจนเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวในด้านชายแดนจังหวัดตากมากขึ้น

3. การส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก      ซึ่งมุ่งเน้นใน 3 เรื่อง หลัก คือ  การสร้างนิคมอุตสาหกรรม  การปรับโครงสร้างด้านการเกษตร  และการท่องเที่ยว   ซึ่งอำเภอในเขตชายแดนของจังหวัดตากมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์  ทั้งด้านแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด  แหล่งรับซื้อพืชไร่   เป็นแหล่งแรงงานของจังหวัด    เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ    ตลอดจนเป็นแหล่งอุตสาหกรรมดังเดิมของจังหวัดตาก   ซึ่งทำให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้า  การลงทุน  และการท่องเที่ยว  ซึ่งในส่วนของการดำเนินงานของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตากที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการค้าชายแดนให้เกิดการขยายตัวมากขึ้น   มีการดำเนินงานในกิจกรรมหลากหลายที่เป็นการสนับสนุน เช่น  โครงการ Contract  Farming   ,  การฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน ความรู้ด้านการนำเข้าส่งออกให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชน  และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ,  การส่งเสริมตลาดต่างประเทศ  , การจัดตั้งศูนย์บริการกระทรวงพาณิชย์สาขาแม่สอด    เป็นต้น

ประโยชน์ในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าการค้าที่สูงขึ้น   ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับพม่าให้มีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น จากการประชุมพบปะในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ทำให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของภาครัฐและเอกชนทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีในทุกระดับและแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างไทยกับพม่าอย่างจริงจัง  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างประเทศในระยะยาวบนพื้นฐานของความไว้ใจซึ่งกันและกัน ขจัดความหวาดระแวงและทัศนคติในแง่ลบด้านต่างๆ ของประชาชนทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้ผู้ประกอบการค้าชายแดนที่อยู่นอกระบบ  เข้ามาอยู่ในระบบพิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน   สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการที่เกี่ยวข้องต่างๆ และผ่อนผันในลักษณะการดำเนินการค้าชายแดนได้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการค้าชายแดนจังหวัดตาก ด้านอำเภอแม่สอด มีปัญหาหลักคือการออกกฎระเบียบของรัฐบาลทหารพม่า  ที่มีความไม่แน่นอน มีการยึดหยุ่นน้อย   และปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ  พื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศไทยด้านจังหวัดตาก  เป็นชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับในการปกครองตัวเอง   จึงทำให้รับบาลไม่สนับสนุนส่งเสริมในเชิงเศรษฐกิจ  และความมั่นคง   เกิดภาวะความเคลือบแคลงใจต่อประเทศไทยตลอดมา    ซึ่งปัญหาเหล่านี้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน   ได้มีการศึกษา  หาแนวทาง  ตลอดจนดำเนินการส่งเสริมการค้าชายแดนผ่านกิจกรรมต่างๆ  อันจะมีผลให้การค้าชายแดนขยายตัวในทิศทางที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น

1.ความรู้ด้านการนำเข้าไม้และแปรรูป  รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้  เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดน

มาตรการกำกับดูแลการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์รายใหม่    ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์   ลงวันที่  29  พฤศจิกายน  2548   จังหวัดกำหนดมาตรการการกำกับดูแล  วิธีการ  ข้อกำหนด โดยให้หน่วยงาน  6  หน่วยงาน    ได้แก่     ด่านศุลกากรแม่สอด     สำนักงานป่าไม้จังหวัด   กองกำลังนเรศวร   สถานีตำรวจภูธร      สำนักงานพาณิชย์จังหวัด    อำเภอแม่สอด    จัดส่งเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบไม้และสิ่งประดิษฐ์ไม้ที่ได้ขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร    โดยมีการตรวจสอบตั้งแต่พาหนะบรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและขนย้ายสินค้าเข้าไปยังคลังสินค้าในการอารักขาของกรมศุลกากร  เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนเกิดความรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่  จังหวัดกำหนดให้มีการปฏิบัติงานร่วมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ในวันอังคาร  พุธ  และพฤหัสบดี   โดยขอความร่วมมือผู้นำเข้าสินค้าดำเนินการให้มีการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรในช่วงเวลาเช้า   เพื่อสามารถตรวจปล่อยได้ภายในวันเดียวกัน  โดยไม่ต้องพักสินค้าไว้ที่คลังสินค้า

ไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้   ที่ได้รับการตรวจสอบ   หากพบว่าไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ  เช่น  มีคุณสมบัติและลักษณะผิดจากประกาศกำหนด   มีสิ่งของผิดกฎหมายปะปนฯลฯ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามกฎหมาย  ในแต่ละฐานความผิดทันที

ในแนวปฏิบัติการนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ฯ  ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน  เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน  ความไม่พร้อมของเจ้าหน้าที่ในแต่ละจุด   ความไม่พร้อมด้านเอกสาร    ความไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติของผู้ประกอบการ  ตลอดจนความปลอดภัยในการขนส่ง   ส่งผลให้ต้องมีการประชุม  ชี้แจง  เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ  อย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของการนำเข้าไม้และแปรรูปรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้  เข้ามาในราชอาณาจักรตามแนวชายแดน ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น และเป็นการลดการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศ และจากการที่เราต้องมีการเข้มงวดการนำเข้า เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ในประเทศ และสวมรอยเป็นไม้นำเข้า เพื่อนำเข้าสู่ประเทศไทย

2.ความรู้จากการดำเนินโครงการ Contract Farming

                โครงการ Contract   Farming  เป็นโครงการเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน  โดยความร่วมมือของภาครัฐ และเอกชน    สนับสนุนให้ผู้ประกอบการหรือพ่อค้า พืชไร่ในประเทศ   เข้าไปติดต่อกับเกษตรกรในจังหวัดเมียวดี  ประเทศพม่า     เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกสินค้าเกษตรที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศไทย  ไม่ว่าจะเป็น  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์   ถั่วเขียวผิวมัน     ซึ่งที่ผ่านมา  ยังคงติดปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าหลายประการ     ทำให้การนำเข้านอกระบบยังคงมีสูง    โครงการ Contract   Farming   นั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่พยายามทำให้เกิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต

                สำนักงานพาณิชย์จังหวัด  ได้ดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง    ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมเป็นในลักษณะการรับสมัครผู้ประกอบการค้าพืชไร่ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก เข้าร่วมโครงการ    โดยผู้ประกอบการจะต้องเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรในเขตจังหวัดเมียวดี  ปลูกพืชเป้าหมายตามแผนลงทุน    เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยว   ผู้ประกอบการจะต้องรับซื้อผลผลิตที่เข้าไปส่งเสริมในราคาที่เหมะสมและเป็นธรรมต่อเกษตรในสหภาพพม่า     ทั้งนี้ภาครัฐจะสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการยกเว้นภาษีในการนำเข้าผลผลิตดังกล่าว

ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ คือทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น และเป็นการสนับสนุนการดำเนินโครงการ ACMECS ทำให้ประเทศไทยแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สามารถนำเข้ามาใช้ในประเทศได้ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้รับประโยชน์ คือประชาชนในประเทศที่ได้รับการส่งเสริมก็จะมีงานทำ และมีรายได้  ทำให้ลดปัญหาการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ด้วย

3. ความรู้ที่ได้รับจากการประชุม เรื่องการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก

                การพัฒนาพื้นที่ชายแดนของจังหวัดตากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดตาก จังหวัดตากมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง สามารถสนองตอบต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนได้เป็นอย่างดี  โดยตั้งอยู่ปลายแนวทางเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (East-west Economic Corridor)  สามารถเชื่อมโยงไปยังพม่าและกลุ่มประเทศเอเชียใต้หรือเชื่อมโยงไปยังสปป.ลาว และเวียดนามได้ จากจากนี้จังหวัดตากโดยเฉพาะอำเภอแม่สอดแม่ระมาดและพบพระ เป็นพื้นที่ชายแดนและอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในไทยและพม่า ซึ่งมีโอกาสพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อสนับสนุนการกระจายการพัฒนาไปยังภูมิภาคอื่นที่มีความเจริญน้อยกว่าเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ กระจายอุตสาหกรรมออกจากบริเวณที่มีการกระจุกตัวและก่อปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เดิม พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ให้ดีขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากแหล่งทุนในประเทศและต่างประเทศ และรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้อยู่ในบริเวณเดียวกันซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการควบคุมดูแลด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม

ศักยภาพของจุดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดตาก

(1) พื้นที่อำเภอแม่สอดเป็นทั้งฐานการค้าชายแดน และฐานการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่และบริเวณโดยรอบ  และภาครัฐได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากได้มีการยกระดับมาตรฐานเศรษฐกิจในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน  ซึ่งรัฐจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ กำหนดสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจการลงทุนเพิ่มเป็นกรณีพิเศษและจัดกลไกการบริหารที่มีความชัดเจน คล่องตัว และมีอำนาจในการตัดสินใจเบ็ดเสร็จ จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ สามารถตอบสนองการเป็นประตูการค้าได้อย่างสมบูรณ์

(2)  พื้นที่อำเภอพบพระและแม่ระมาดเป็นฐานเกษตรและอุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับอำเภอแม่สอดได้โดยสะดวก  โดยอำเภอพบพระซึ่งอยู่ทางตอนล่างของแม่สอดและอำเภอแม่ระมาดซึ่งอยู่ตอนบนของแม่สอด  เป็นแหล่งผลิตเกษตรที่สำคัญขอจังหวัดตาก โดยเฉพาะพืชไร่เศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น และพืชผักผลไม้ที่มีคุณภาพ เช่น กระเทียม ผักกาดขาวผลี หอมแดง กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง แมคคาเดเมีย ลิ้นจี่ เป็นต้น  และฐานอุตสาหกรรมสำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะที่อำเภอแม่ระมาดเป็นแหล่งผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนที่อำเภอพบพระเป็นแหล่งผลิตอาหารสำเร็จรูป  ซึ่งทั้งสองอำเภอสามารถเชื่อมโยงการผลิตร่วมกับอำเภอแม่สอดได้อย่างเป็นระบบที่จะนำไปสู่เขตเศรษฐกิจชายแดนโดยสมบูรณ์แบบต่อไป

(3)      พื้นที่มีจำนวนมากสามารถรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนโดยเฉพาะอำเภอแม่สอด (บริเวณรอบนอกเขตเทศบาลเมืองแม่สอด) อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด  ยังมีพื้นที่เปิดโล่งอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาพัฒนาได้ ในขณะที่ภาครัฐ เอกชนและประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนแนวทางการพัฒนาดังกล่าว รวมทั้งพร้อมมีส่วนร่วมการนิงานไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว  นอกจากนี้พื้นที่ฝั่งเมียวดียังมีเพียงพอและมีศักยภาพนำมาพัฒนาร่วมกันได้ในอนาคต

(4)  พื้นที่ศักยภาพที่จะขยายโอกาสการลงทุนเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกับเมียวดีของพม่าได้ในอนาคตเนื่องจาก ทั้งสองประเทศมีปัจจัยที่มีความได้เปรียบแตกต่างกันโดยไทยมีความพร้อมทั้งในด้านสาธารณูปโภค เทคโนโลยี การจัดการความเชี่ยวชาญทางการค่า  และแรงงานฝีมือ  ส่วนพม่ามีความได้เปรียบที่มีแรงงานจำนวนมากและมีอัตราค่าจ้างอยู่ในระดับต่ำที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น และมีวัตถุดิบป้อนโรงงาน โดยเฉพาะแร่ธาตุและอัญมณี ผลิตผลทางการเกษตร ไม้ ทรัพยากรสัตว์น้ำทะเล รวมทั้งเป็นตลาดบริโภคสินค้าพื้นฐานจำเป็นขนาดใหญ่ ซึ่งหากมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนร่วมกันจะทำให้เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งประเทศ

ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาความมั่นคงทางด้านชายแดน  เนื่องจากพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดต่อกับชายแดนของพม่า  มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่   ซึ่งมีอุดมการณ์ทางด้านการเมืองที่แตกต่างไปจากรัฐบาลพม่าและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลพม่าทำให้เกิดการสู้รบบริเวณชายแดนอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง  ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวของจังหวัด รัฐบาลพม่าพยายามกดดันทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ กับชนกลุ่มน้อย และไม่ต้องการส่งเสริมการค้าในบริเวณนี้ จึงทำให้การค้าชายแดนด้านอำเภอแม่สอด ประสบความเสี่ยงสูง ชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า ได้หลบหนีภัยจากการสู้รบในเขตพม่า เข้ามาอาศัยอยู่ตามบริเวณชายแดนในเขตประเทศไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากก่อให้เกิดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยและพม่าตามบริเวณชายแดนแล้ว ยังสร้างปัญหาความไม่ปลอดภัยให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชายแดนอยู่ตลอดเวลา

ความรู้ด้านการค้าชายแดน

                                การนำเข้า – ส่งออก เป็นเรื่องที่สำคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูง เมื่อพิจารณาจากด่านที่มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าชายแดนของจังหวัดตาก  จังหวัดตากแบ่งเป็นสองฝั่ง คือฝั่งด้านตะวันออก ประกอบไปด้วยอำเภอเมือง อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และกิ่งอำเภอวังเจ้า และฝั่งตะวันตก ตะวันตก ประกอบไปด้วย อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง ฝั่งตะวันตกมี 5 อำเภอที่กล่าวมานี้ เป็นอำเภอในด้านเศรษฐกิจของจังหวัดตาก

วันที่    2   กันยายน   2549   หอการค้าจังหวัดตาก  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก  ได้จัดงาน  ”สานสัมพันธ์หอการค้า” ณ  โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอดฮิลล์ อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก   โดยมีผู้ประกอบการ  ภาคเอกชน  และหอการค้าจากประเทศพม่า  รวมทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชนและหอการค้าจังหวัดตาก  และภาครัฐ   เข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก งานที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า) รวมทั้งในงานนี้มีการจัดจำหน่ายสินค้าของพม่า และสินค้า OTOP) ของไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน สินค้าพวกที่นำมาจำหน่าย เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน ในการจัดงานในครั้งนี้ได้ทั้งความรู้และได้ทั้งขายของ(ได้เงิน) เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า    เกิดความจริงใจ     และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับประเทศไทย

วันที่   12  กันยายน  2549     เป็นงานสัมมนาความรู้ด้านการนำเข้า  –  ส่งออก     จัด ณ   โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอดฮิลล์        อำเภอแม่สอด   จังหวัดตาก มีผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม เกษตรและสหกรณ์  จากภาครัฐบาล  และภาคเอกชน  ที่สนใจเป็นอย่างมาก  การจัดงานในครั้งนี้ผู้ประกอบการค้าขายจะได้มีความรู้เรื่องกฎ ระเบียบ วิธีการนำเข้าและส่งออก สินค้าเกษตรซึ่ง เป็นโครงการส่งเสริมและพัฒนาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้งบยุทธศาสตร์การบริการงานจังหวัดแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549  ในโครงการนี้ก็มีกิจกรรม  Contract  Farming  เป็นกิจกรรมทางด้านความรู้การนำเข้า – ส่งออก การจัดงานในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการได้ความรู้ด้านการนำเข้า – ส่งออกประเภทพืช ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยวสัตว์ ถั่วเขียว พืชผักและผลไม้  ทำให้ผู้ประกอบการรวมทั้งภาครัฐได้รับความรู้เรื่องกฎ ระเบียน ด้านการนำเข้า – ส่งออกจากการสัมมนาเป็นอย่างมาก

ในงบประมาณ  2549

ศูนย์บริการกระทรวงพาณิชย์จังหวัดตากฯ

                                ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการกระทรวงพาณิชย์ สาขาแม่สอด โดยใช้งบประมาณ ทางจังหวัด  ผู้ประกอบการรวมทั้งภาครัฐได้รับความรู้เรื่องกฎ ระเบียน ด้านการนำเข้า – ส่งออก ซึ่งมีส่วนในการปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ โดยมีวัตถุประสงค์

1.บริการผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะนำเสินค้าเข้า – ออก ได้ทราบกฎระเบียนว่าสินค้าต้องห้ามชนิดไหนบ้าง ที่ขัดต่อกฎ ระเบียบของกระทรวงพาณิชย์

2.เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการที่จะต้องเดินทางมาติดต่อราชการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมือง ซึ่งห่างจากอำเภอแม่สอดประมาณ 90 กิโลเมตร

3.เพื่อให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ในด้านการบริการประชาชนเป็นไปด้วยความสะดวกและรวมเร็ว เพื่อให้ผู้มารับบริการเกิดความพึงพอใจในหน่วนงานของจังหวัดตาก และของกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์

                                สิ่งประดิษฐ์จากไม้ จากประเทศพม่า เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ทำให้ดุลการค้าของจังหวัดตากเพิ่มขึ้น ไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่นำเข้ามายังประเทศไทย ผ่านตามจุดชายแดน 5 อำเภอทางฝั่งตะวันตกนั้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายผู้ที่ค้าขายสิ่งประดิษฐ์นี้จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏ ระเบียบทองทางราชการ โดยการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ที่หน่ายงานของรัฐกำหนดไว้เท่านั้น  โดยได้แต่งตั้งข้าราชการของหน่วยงานทางราชการประกอบด้วย

1.  ผู้แทนจากอำเภอ

2.  ผู้แทนด่านศุลกากร

3.  ผู้แทนจากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

4.  ผู้แทนฝ่ายทหาร

5.ผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนทั้ง 5 หน่วยงานจะต้องลงนามเอกสารทางราชการออกให้ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่นำเข้ามานี้ได้ผ่านตามขั้นตอนของทางราชการ  ถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่นำเข้ามาอย่างถูกต้อง  จะขนไปยังต่างจังหวัดก็ไม่ผิดกฎหมาย

******************

 1. วันที่    2   กันยายน   2549   หอการค้าจังหวัดตาก  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก  ได้จัดงาน  ”สานสัมพันธ์หอการค้า” ณ  โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอดฮิลล์ อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก   โดยมีผู้ประกอบการ  ภาคเอกชน  และหอการค้าจากประเทศพม่า  และผู้ประกอบการภาคเอกชนและหอการค้าจังหวัดตาก  และภาครัฐ   เข้าร่วมงานนี้    ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมงานและเห็นความสำคัญของการจัดงาน    สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า  และทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ  เกิดความจริงใจ     และความเข้าใจอันดีต่อกัน  ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าร่วมกันของทั้ง  2  ประเทศต่อไป

2. วันที่   12  กันยายน  2549   สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตากได้จัดสัมมนาเรื่อง  “ความรู้ด้านการนำเข้า – ส่งออก”   ซึ่งจัด  ณ  โรงแรมเซ็นทรัลแม่สอดฮิลล์        อำเภอแม่สอด   จังหวัดตาก โดยได้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะทำงานเศรษฐกิจการค้าชายแดนจังหวัดตาก  จากภาครัฐบาล  และภาคเอกชน  ประกอบด้วย  ประธานหอการค้า  และประธานสภาอุตสาหกรรม

การจัดสัมมนาครั้งนี้ คิดว่ามีความสำคัญมาก เพราะจังหวัดตากเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจชายแดนของประเทศ  เป็นจังหวัดที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูง     การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ  โดยการเพิ่มพูนความรู้ด้านการนำเข้า – ส่งออกให้กับผู้ประกอบการ  ตลอดจนเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้เกี่ยวกับการนำเข้า – ส่งออก  จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาการค้าระหว่างไทยด้านจังหวัดตากกับสหภาพพม่า   เพราะฉะนั้น  การสัมมนาครังนี้  ทำให้ผู้เข้ารับการสัมมนามีความรู้  ความเข้าใจกฎระเบียบด้านการนำเข้า-ส่งออกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   และสามารถปรับใช้ได้ตามสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนสินค้าเกษตร  หรือโครงการ  Contract  Farming  ที่จะเป็นการส่งเสริมให้มูลค่าการค้าบริเวณชายแดนด้านจังหวัดตากมีมูลค่าการค้าบริเวณชายแดนด้านจังหวัดตากมีมูลค่าสูงขึ้น

3.  วันที่  14 – 17  กันยายน   2549   ได้นำกลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับจากจังหวัดตากเข้าร่วมออกบู๊ธและเข้าศึกษาดูงาน  BANGKOK   and   JEWELRY  FAIR   :  GEMS  ณ  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค  เมืองทองธานี  กรุงเทพฯ   ซึ่งงานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่  14 – 17  กันยายน   2549   โดยวันที่  14 – 16  กันยายน   จะเป็นการจัดแสดงสินค้าอย่างเดียว              ไม่มีการซื้อขายกัน  ส่วนวันที่    17  กันยายน   จะเป็นการตกลงซื้อขายกันระหว่างประเทศ    อัญมณีของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้ร่วมออกงานและจำหน่ายครั้งนี้เป็นอัญมณีที่มาจากอำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก       โดยมีชายไทยและชาวต่างชาติสนใจและช่วยอุดหนุนเป็นอย่างมาก  เป็นการส่งเสริมสินค้าด้านอัญมณีซึ่งมาจากชายแดนจังหวัดตากมีมูลค่าสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

—————————-

การค้าชายแดน : การเชื่อมสัมพันธ์ตามแนวชายแดน

ข้อมูลจาก ศูนย์การค้าชายแดน

————————————————————————————————————————–

1.บทนำ :  จากสนามรบสู่ตลาดการค้า

การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากขนาดการค้าที่ใหญ่ขึ้นและผลกระทบของความไม่แน่นอนภายนอกภูมิภาคสูงขึ้น มีประเด็นที่พึงสนใจได้แก่

1.1 ลักษณะการค้าชายแดนทั่วไป หมายถึงการค้าขนาดเล็กและขนาดกลางของประชาชนหรือผู้ประกอบการที่อยู่ใกล้บริเวณชายแดน  ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตรและของป่า  จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการค้าและการลงทุนการค้าชายแดนจึงเกี่ยวข้องกับบริษัทใหญ่ในศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น    สัดส่วนการค้าของประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคของการค้าชายแดนได้ในระยะยาว

1.2 เหตุผลที่การค้าชายแดนไทยขยายตัวที่สำคัญได้แก่ 1) การดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีน  ทำให้จีนกลายเป็นโรงงานโลกและแหล่งลงทุนสำคัญในภูมิภาค  2) การปรับนโยบาย 3 ประเทศอินโดจีน คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ทั้งหมดได้เข้าสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้พม่าได้เลิกแนวทางสังคมนิยม  หันมาใช้ระบบตลาด  และได้เข้าร่วมกลุ่มอาเซียน  3) การปรับนโยบายของทางการไทยที่มุ่งเปลี่ยนสนามรบเป็นตลาดการค้า 4) การสนับสนุนของสถาบันการเงินได้แก่ธนาคาร     เพื่อการพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก  5) การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้  ซึ่งทำให้การค้าระหว่างกันขายตัวตามไปด้วย

1.3 โครงการสำคัญของการค้าชายแดนไทย  มี 2 โครงการใหญ่ ได้แก่ โครงการหกเหลี่ยมเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับ 6 ประเทศได้แก่ ประเทศจีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ลาว ไทย กัมพูชา และโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจซึ่งมีประเทศที่เกี่ยวข้องได้แก่ อินโดนีเซีย  มาเลเซีย และไทย   ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นตัวเชื่อมสำคัญของการค้าชายแดนของภูมิภาค  ทั้งสภาพภูมิศาสตร์  ขนาดของประเทศ และขนาดทางเศรษฐกิจ

1.4 ปัญหาและอุปสรรคพื้นฐานของการค้าชายแดน  ได้แก่ 1) การขาดความไว้วางใจกัน ขาดต้นทุนทางสังคมหรือทุนทางการเมือง  2) ความอ่อนไหวทางการเมืองภายในบางประเทศ  3) ทิศทางและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ-การเมืองที่ต่างกัน  4) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายประเทศไม่ได้รับการพัฒนา   ซึ่งที่สำคัญเกิดจากบาดแผลทางสงคราม  5) ปัญหาระบบการเงินและกฏระเบียบต่างๆ  เงินที่ใช้ในการค้าหลายสกุลไม่มั่นคง  และมีกฏระเบียบที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและไม่เอื้อต่อการค้า  6) การค้านอกระบบ  ทำให้ผู้ที่ค้าในระบบต้องเสียเปรียบ  และทำให้จำต้องออกกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า

1.5 จุดแข็งและข้อได้เปรียบของการค้าชายแดน ได้แก่  1) ระยะทางขนส่งใกล้  2) สนับสนุนท้องถิ่น  3) เสริมความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกันในภูมิภาค  4) ลดทอนการแข่งขันที่มากเกินไปและเสริมจุดแข็งของกันและกัน  5) ลดทอนผลกระทบจากภายนอกซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง  จุดแข็งนี้เห็นได้ชัดในประเทศกำลังพัฒนา  มีบรรษัทข้ามชาติจำนวนมากต้องการค้าข้ามแดนมากว่าค้าชายแดน และพยายามแทรกแซงทำให้การค้าชายแดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้าและการลงทุนข้ามชาติไป จึงเป็นงานยากไม่น้อยสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

1.6 การค้าทำให้การค้าชายแดนก่อผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืนนั้นต้องแก้ไขจุดอ่อนของการค้าเสรีที่ครอบงำโลกอยู่  เพราะว่าการค้าที่เป็นอยู่มีแนวโน้มที่จะต้องเสียค้าขนส่งไกล นำไปสู่ลัทธิอุตสาหกรรมที่ไม่เอื้อต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง  ทำลายสิ่งแวดล้อม  และขยายช่องว่างในสังคม  ซึ่งจะทำให้การค้านี้เปิดโอกาสใหม่แก่ประเทศ

2. หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ  :  พันธมิตรใหม่ประตูใหญ่ทางการค้า

2.1 ลักษณะทั่วไป

เป็นโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของ 6 ประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  จีนตอนใต้ (ยูนนาน) พม่า  เวียดนาม  ลาว  ไทย  กัมพูชา  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้า  การลงทุน  อุตสาหกรรม  การเกษตร ท่องเที่ยวและบริการ  โดยคาดหวังว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น  มีธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียเป็นผู้สนับสนุนใกล้ชิด  โครงการนี้ได้กระชับความร่วมมือยิ่งขึ้นเมื่อมีการประชุมสุดยอดเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2545 ที่กรุงพนมเปญ

2.2 สถานการณ์และแนวโน้ม

โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของพันธมิตรใหม่ ซึ่งเคยมีความขัดแย้งกันสูงทั้งในประวัติศาสตร์ เก่า  และในประวัติศาสตร์ระยะใกล้ช่วงสงครามเย็น  กว่าที่ประเทศต่างๆ จะเกิดความสงบและหันหน้าเข้าหากัน

Leave a comment